Mashup.in.th

รู้จักกับการรับ จ่าย โอน เงินด้วย QR Code

QR Code ย่อมาจาก Quick Response Code หรือแปลเป็นไทยได้ว่า รหัสที่มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว หากย้อนกลับไป 6-7 ปีที่แล้ว คำว่า QR Code ยังไม่ได้ถูกใช้เรียกรหัสแบบนี้เป็นที่แพร่หลายนัก ในช่วงเวลานั้นจะมีการเรียกหน้าตารหัสแบบนี้ว่า 2D Barcode

ประวัติของ QR Code

สาเหตุที่ต้องเรียนว่า 2D Barcode นั่นก็เพราะว่าเป็นการพัฒนามาจาก Barcode นั่นเอง คำว่า Barcode หมายถึงรหัสที่แสดงผลเป็นแท่ง จุดกำเนิดของ Barcode มาจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังยุค 1960 ใน Super Market ที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการชำระเงินนั่นเอง โดย Barcode ยุคแรกคือว่า UPC สามารถเก็บข้อมูลเอาไว้ภายในได้ 13 ตัวอักษรเท่านั้น

ต่อมาได้มีการพัฒนา Barcode มาอย่างต่อเนื่องเป็น Code 39 หรือก็คือ UPC ที่มีขนาดยาวขึ้น, Code 49, Code 16K ที่มีการเอา ฺBArcode มาเรียงกันหลายๆชั้น จนกระทั่งในปี 1990 บริษัท Denso Wave ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องอ่าน BArcode จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะคิดค้น รหัสแท่งรูปแบบใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากๆ โดยมี Masahiro Hara เป็นผู้นำในเวลานั้น และได้มีการคิดค้นหลายเป็น 2D Barcode ขึ้นมาตั้งแต่ปี 1994 โดย 2D Barcode นี้นั้นสามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 7,000 ตัวอักษร และสามารถเก็บภาษาจีน และตัวคันจิ ได้อีกด้วย จึงกลายเป็น QR Code ในปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงผู้คนทั่วไป

ทำไม QR Code ถึงประสบความสำเร็จ?

สิ่งสำคัญที่ทำให้ การใช้งาน QR Code ประสบความสำเร็จ นอกจากจำนวนข้อมูลที่มันเก็บได้แล้ว ก็คือ การพัฒนาของสมาร์ทโฟน ที่สามารถใช้กล้องอ่านได้ ไม่ว่าจะใช้เป็นรุ่น หรือยี่ห้อใดก็ตาม ในเมืองทุกคนมีเครื่องมือในการอ่าน มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ทำงานได้ตลอดเวลาไม่ทำให้ผิดหวัง นั่นเอง

QR Code ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

แน่นอนว่า QR Code มีการใช้งานมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว หลักๆเลยหน้าที่ของมันคือติดไปกับสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เหมือนกับ Barcode แต่ดีว่าคือในนั้นจะเก็บข้อมูลได้เยอะกว่ามาก

ต่อมาเริ่มมีการใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้แทน Boarding Pass ของเครื่องบิน การใช้ระบุผู้ป่วยในโรงพยาบาล การติดในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น และแน่นอนปัจจุบันก็มาถึง การใช้ QR Code ในการรับจ่าย โอนเงินสด

QR Code กับการใช้รับ จ่าย โอน เงินสด

QR Code Payment กำลังเป็นที่นิยมและได้รับการพูดถึงอย่างมาก โดยเฉพาะ ประเทศจีน ที่ในปัจจุบันนี้จะจ่ายเงินสดยังยากเสียกว่าจ่ายด้วย QR ซะอีก และกำลังเคลมตัวเองว่ากำลังเข้าสู่ยุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว โดยในประเทศจีนจะมีผู้ดูแล QR Payment รายใหญ่ๆอยู่ 2 ราย คือ We chat Pay (Weixin Pay) และ Alipay นั่นเอง

QR Code Payment ได้รับความนิยมมากกว่า Apple Pay หรือ Samsung Pay เสียอีก เนื่องมาจากว่า QR Code นั้นไม่ได้ยึดติดกับ Platform ใดๆ สมาร์ทโฟนทุกรุ่นที่สามารถติดตั้งโปรแกรม Wechat ได้ ก็จะสามารถสั่งโอน รับ จ่าย เงินได้ทั้งหมด ทำให้แพราหลายไปเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว

สำหรับในประเทศไทยเองก็ได้เริ่มมีการตื่นตัวของการใช้งาน QR Code Payment มาบ้างแล้ว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ออกมากำหนดมาตรฐานของ QR Code ที่จำเป็นในการใช้ชำระเงินมาแล้วตั้งแต่เดือน มีนาคม 2017 และในเดือนพฤศจิกายน 2017 ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประกาศให้ธนาคารภายในประเทศไทยทั้งหมด 5 แห่ง เริ่มการทดสอบการใช้งาน QR Code Payment ในวงกว้าง ประกอบไปด้วย ธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ กรุงไทย ไทยพาณิชย์ และออมสิน โดยธนาคารทั้ง 5 แห่ง สามารถเปิดให้บริการรับชำระเงินด้วย QR Code ได้พร้อมกันแล้วในทั่วประเทศ

ก็ได้แต่หวังว่าประเทศของเราจะเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสด อย่างเต็มตัวในเร็วๆนี้นะครับ

บทความนี้โพสครั้งแรกที่ www.mashup.in.th ทั้งหมดมีทั้งข้อมูลที่เป็นแหล่งอ้างอิง และความเห็นของผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

 

 

Exit mobile version