Mashup.in.th

รวมสุดยอดเว็บที่ช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น! ตอนที่ 2

อ่านตอนที่ 1 คลิกที่นี่

ค้นหาข้อมูล

ก่อนหน้านี้หากเราต้องการใช้งาน Search Engine ในการหาข้อมูลนั้น เราไม่จำเป็นต้องคิดอะไรมากเลย ใช้แต่ Google หาเข้าไปทุกอย่างนั่นเอง จน Yahoo ฮึดสู้เริ่มพัฒนาระบบค้นหาของตัวเองตีตื้นขึ้นมา แต่ก็ยังไม่ใกล้ Google เท่าไหร่นัก กระทั่ง Microsoft กระโดดลงมาเล่นในสนามนี้ด้วยการส่ง Bing มาร่วมแข่งขันนับว่าเป็นคู่แข่งที่สูสีที่สุด

ระบบค้นหาทั้ง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่นั้นต่างมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันเริ่มจากการค้นหาเว็บทั่วๆไปรวมถึงรูปภาพ เราขอยกให้ Google (google.com) ยังเป็นอันดับ 1 ในใจเรา

ทว่าเมื่อทดสอบการค้นหาวีดีโอ Bing (Bing.com) กลับทำได้ดีกว่าด้วยการจัดวางผลลัพธ์แบบ Grid ทั้งยังสามารถเล่นไฟล์วีดีโอให้เราดูได้เลยเพียงแค่เอาเม้าส์ไปวางเท่านั้น ทำให้เรารูได้ว่าวีดีโอที่จะเล่นเป็นอย่างไรก่อนจะตัดสินใจคลิก

เพลง

เพลงเพราะที่มีอยู่ในโลกนี้ล้วนมีอยู่มากมายบนเว็บโดยที่เราไม่ต้องกลัวเลยว่าจะหาไม่ได้ เว็บหาเพลงที่เราชอบมากที่สุดคือ Grooveshark(Grooveshark.com) เราสามารถฟังได้ฟรีๆผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ และหากเราต้องการใช้งานผ่านมือถือจะต้องเสียค่าบริการเดือนละ 100 บาท

เว็บอันดับสองที่เราชอบก็คือ Pandora(ฟรี,pandora.com) บริการที่ให้เราใส่ชื่อนักร้องที่เราชอบลงไปปแล้วโปรแกรมจะสร้าง Playlist เพลงของนักร้องคนนั้นให้เราเองทำให้เราอาจจะได้ฟังเพลงที่ไม่เคยฟังจากนักร้องที่ชื่นชอบได้ด้วย ทั้งยังมีโปรแกรมฟรีสำหรับมือถือด้วย

หากคุณอยากฟังเพลงใหม่ๆในแนวที่ตัวคุณเองชอบคงต้องลองใช้ Last.fm (ฟรี) ด้วยเทคนิคที่ทางผู้พัฒนาเรียกว่า Scrobbling ที่จะทำการดาวโหลดรายชื่อเพลงจากอุปกรณ์ต่างๆที่คุณมีอยู่ไม่ว่าจะเป็น PC, Mac, iOS, Android จากนั้นนำเอามาวิเคราะห์และนำเสนอเพลงที่คิดว่าคุณน่าจะชอบให้เอง

หรือหากคุณอยู่ๆอยากจะฟังเพลงอะไรสักเพลงก็ให้ใส่ชื่อเพลงนั้นลงไปใน Google ได้เลยเว็บที่มีเพลงดังกล่าวแบบพร้อมฟังจะปรากฏขึ้นมาตรึม ทว่าส่วนใหญ่จะให้ฟังผ่านทางเบราว์เซอร์นั่นเอง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตถูกคิดค้นขึ้นมา ประโยชน์ที่นับว่ายิ่งใหญ่มหาศาลมากที่สุดนอกจากความบันเทิงนั้นก็คงจะเป็นเรื่องของการศึกษานั่นเอง เริ่มจาก YouTube ที่หากเราให้ความสนใจสักนิดก็จะพบว่าเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์มากเลยทีเดียว

คิดว่าทุกท่านคงจะได้เคยได้ยินชื่อ Wikipedia มาแล้ว(Wikipedia.org) ปัจจุบันเว็บนี้เป็นแหล่งรวบข้อมูลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ แต่ข้อมูลในนั้นเป็นข้อมูลที่ใครๆก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้อย่างอิสระ ทำให้บางครั้งข้อมูลก็ไม่ตรงนัก หรือมีผู้ใช้ช่องทางนี้เพื่อหวังผลทางธุรกิจ อย่างไรก็ดีหากเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและความละเอียดสูงจะต้องมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด

หากคุณต้องการข้อมูลจำเพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแนะนำให้มองข้าม Google และ Wikipedia ไปเสียก่อน แล้วหันไปหา Wolfram Alpha(ฟรี,wolfeamalpha.com) เว็บนี้จะมีอัลกอริทึมที่ไม่เหมือนเว็บอื่นๆ ซึ่งจะแสดงข้อมูลจำเพาะออกมาให้เราเห็นได้อย่างรวดเร็วเช่นหากเราใส่เข้าไปว่า Thailand ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นจำนวนประชากร ระบบเศรษฐกิจ และอื่นๆก็จะปรากฏขึ้นมา

คุณเคยได้รับอีเมล์ลูกโซ่ และข่าวลือแปลกๆหรือไม่ครับ เช่น Facebook จะปิดตัวลง, Hotmail จะเก็บค่าใช้บริการเป็นต้น หากคุณอยากรู้ว่าอีเมล์เหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ให้เข้าไปที่ Snopes.com และใช้หัวข้ออีเมล์ค้นหา จะปรากฏข้อมูลของเมล์นั้นออกมา นับว่ามีประโยชน์มากในโลกปัจจุบันที่ปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ

หากจะบอกว่า Wikipedia เป็นแหล่งความรู้ทั่วไป iFixit(ifixit.com)ก็คงเป็น Wikipedia สำหรับเทคโนโลยีโดยทางเว็บได้ตั้งสโลแกนว่าเป็นเว็บที่รวมคู่มือการซ่อมที่ใครๆก็สามารถแก้ไขได้  แต่ความจริงแล้วมันเป็นมากกว่านั้น ในเว็บนี้จะมีคู่มือและวิธีการต่างๆในการซ่อมและอับเกรด ที่ผู้ใช้สร้างกันเข้ามารวมถึงคู่มืออย่างเป็นทางการของแต่ละผลิตภัณฑ์ด้วย หรือถ้าคุณหาวิธีซ่อมไม่เจอ ก็สามารถทำการสอบถามไปยังกระดานสนทนาในเว็บไซด์ที่มีเหล่าผู้เชี่ยวชาญคอยตอบคำถามอยู่เพียบ

แบ่งปันรูปภาพและวีดีโอ

ปัจจุบันนี้การแบ่งปันรูปภาพ/วีดีโอให้กับเพื่อนได้ชมนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากด้วย Facebook โดยเราสามารถอับโหลดรูปแบบและวีดีโอแบบคุณภาพสูงขึ้นไปเก็บไว้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ จากนั้นเพื่อนๆของคุณก็จะสามารถเข้ามาชมรูปและวีดีโอเหล่านั้นได้เลย ที่สำคัญ Facebook นั้นเป็นที่หนึ่งในเรื่องของโปรแกรมบนมือถือที่มีให้ใช้หลากหลายระบบปฏิบัติการมากที่สุดอีกด้วย

แต่ถ้าคุณอยากแก้ไขรูปภาพแบบออนไลน์ก็สามารถทำได้โดยใช้ Picnik(picnik.com)เป็นเว็บที่ใช้งานง่ายๆ แค่เปิดไปก็สามารถแก้ไขไฟล์รูปภาพได้เลยโดยไม่ต้องกรอกฟอร์มสมัครสมาชิกอะไรให้ยุ่งยาก

ช้อปปิ้ง

นับตั้งแต่ Amazon พลิกโฉมการช้อปปิ้งผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยการรวบรวมสินค้ามากมายมาจำหน่ายเรียกได้ว่าเราสามารถหาได้ทุกอย่างผ่านทาง Amazon แต่ทว่าหากคุณต้องการซื้อของให้ได้ราคาถูกจริงๆก็ต้องทำอะไรบางอย่าง

Shopping.co.th เว็บขายสินค้าที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Sanook.com บ้านเรากับยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Ecommerce อย่าง Ebay เรียกได้ว่าเป็นการนำเอา Ebay มาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับการใช้งานของคนไทย โดยผู้ซื้อสามารถชำระเงินค่าสินค้าผ่านทางการโอนเงินเข้าบัญชีหรือจะชำระผ่าน PaySbuy หรือบัตรเครดิตก็ยังได้

หากจะกล่าวถึงเว็บที่รวบรวมผู้ซื้อมากๆเพื่อไปต่อรองราคากับผู้จำหน่ายแล้วก็คงหนีไม่พ้น Groupbon (Groupbon.com) แต่ก็ดูค่อนข้างใกล้ตัวคนไทยไปสักนิด อย่างไรก็ดีบ้านเราก็เริ่มมีเว็บแนวเดียวกันนี้โผล่ออกมาให้เห็นบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็น Velashoot(velashoot.com) ที่รวบรวมคนซื้อให้ได้ตามจำนวนที่ผู้ขายต้องการจึงจะได้รับส่วนลด

สำหรับอีกเว็บที่อยากแนะนำคนไทยก็คือ Ensogo (Ensogo.com) ที่เว็บนี้ทางทีมงานจะออกไปเสาะแสวงหาข้อตกลงหรือ “Deal” ที่ดีที่สุดจากร้านค้าและบริการต่างๆ เช่นร้านอาหาร  Spa หรือแม้กระทั่งโปรแกรมตรวจสุขภาพต่างๆ ที่ราคาถูกกว่าปกติ แล้วนำมาให้ผู้ใช้ซื้อบนเว็บ จากนั้นจะมีคูปองที่เราสามารถปริ้นหรือส่งเป็น SMS เข้ามือถือแล้วนำไปยื่นให้ร้านค้าเพื่อส่วนลดได้เลย

หรือถ้าคุณต้องการค้นหาข้อมูล Classified ต่างๆ ก็ต้องลองใช้ Craigslist (ฟรี,craigslist.org) ที่แบ่งข้อมูลตามภูมิภาคและประเทศที่คุณอยู่ ทำให้เราหาสิ่งที่เราต้องการเจอได้อย่างง่ายดาย

หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบอะไรเหมือนคนอื่น ชื่นชอบของแปลกๆ แม้กระทั่งของทำมือที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลกแล้ว ก็คงต้องไปเยี่ยมชมเว็บ  Etsy (ฟรี,Etsy.com) อีกหนึ่งเว็บที่ทำหน้าที่จับคู่ผู้ซื้อและผู้ขาย แต่จะต่างกับเว็บอื่นๆก็ตรงที่สินค้าใน Etsy นั้นจะเป็นสินค้า Handmade และ Vintage สิ่งที่ไม่มีค่าสำหรับเราแล้วอาจจะมีค่ากับคนอื่นก็ได้ใครจะไปรู้…

ผู้ช่วยจัดการรหัสผ่านและบุคมาร์ก

ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่เป็นส่วนขยายที่ช่วยเก็บข้อมูลรหัสผ่านและบุคมาร์กให้กับเรา แต่ทว่าบริการที่เราเห็นว่าสมบูรณ์ที่สุดคงจะเป็น Xmarks(ฟรี,พรีเมียมราคา380 บาทต่อปี xmarks.com) ตัวโปรแกรมจะทำการ Synchronizes รหัสผ่านและบุคมาร์กทั้งหมดของเราระหว่าง Internet Explorer, FireFox,Chrome,และ Safari โดยเราสามารถส้รางเป็นโปรไฟล์แยกจากกันได้ เช่น เรื่องงาน เรื่องส่วนตัว เป็นต้นการเปลี่ยนไปมาระหว่างโปรไฟล์สามารถทำได้ง่ายดาย และมีปลั๊กอินสำหรับทุกเว็บเบราวเซอร์เลยทีเดียว

เพิ่มประสิทธิภาพสังคมออนไลน์

คุณคงจะใช้ Facebook อยู่แล้ว(ถ้ายังไม่ใช้ก็แปลกแล้วล่ะ) คุณอาจจะใช้ LinkedIn หรือ Twitter ด้วย รวมถึง Instant Messaging ต่างๆอีกมากมาย ดังนั้นหากมีผู้ช่วยจัดการข้อมูลเหล่านั้นให้คุณก็คงจะดี

เราหลงรัก TweetDeck(tweetdeck.com) ที่เป็นตัวกลางคอยจัดการข้อมูลของ Facebook, Foursquare,

Google Buzz, LinkedIn, MySpace, และ Twitter ทั้งหมดให้เรา เป็นบริการฟรีที่มีทั้งโปรแกรมสำหรับเดสก์ท็อปและมือถือด้วย เรายังสามารถตั้งเวลาในการโพสแบบอัตโนมัติได้ด้วย

สำหรับโปรแกรมสนทนาต่างๆนั้นก็ต้องยกให้ Meebo (Meebo.com) ที่ทำงานผ่านเว็บได้เลยสามารถใช้งานได้ทุกที่รวมทั้งบนมือถือด้วย

นับตั้งแต่มี Facebook ผู้ใช้ Blog ก็มีน้อยลงมาก อย่างไรก็ดีหากคุณยังต้องการโพสข้อความไปยัง Blog ก็ให้ลองใช้ Posterous (posterous.com) หรือ Tumblr (tumblr.com) ซึ่งมีหน้าตาการใช้งานที่เรียบง่ายที่สำคัญเราสามารถอีเมล์ Blog ใหม่ของเราให้เพื่อนๆดูได้จากทางอีเมล์เลย

ปฏิทินและรายการสิ่งที่ต้องทำ

เริ่มจากบริการที่ง่ายที่สุดอย่าง Google Calendar(Calendar.google.com) เป็นระบบปฏิทินที่สามารถทำงานร่วมกับ Gmail ได้อย่างสมบูรณ์เราสามารถสร้างปฏิทินหลายๆอันได้ และสามารถแบ่งปันบางอันให้กับเพื่อนๆเข้ามาดูได้ เรียกว่าเป็นสุดยอดปฏิทินในขณะนี้

แม้ว่าใน Google Calendar จะมีการรวมเอาบริการ To-do list เอาไว้ด้วยแต่ผลการใช้งานของมันยังไม่ถูกใจเราเท่าที่ควรดังนั้นเราจึงขอแนะนำ Remember The Milk (rememberthemilk.com) เป็นระบบจัดการงานที่ต้องทำที่สามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม ที่สำคัญสามารถทำงานร่วมกับ Gmail และ Google Calendar ได้เป็นอย่างดี ด้วยราคาเพียง 800 บาทต่อปี เราจะได้ใช้ Apps สำหรับ iPhone หรือ Android ได้ด้วย

ถ้าคุณต้องการระบบจัดการงานที่ซับซ้อนและละเอียดมากขึ้นกว่าเดิมเราขอแนะนำ Toodledo (toodledo.com) บริการฟรีที่เรียกได้ว่าเป็นระบบจัดการโปรเจ็คที่มีความซับซ้อนกว่าเจ้าอื่นมี Apps สำหรับอุปกรณ์พกพาให้ใช้ครบครันไม่ว่าจะเป็น Android, iPhone,และ iPad

Exit mobile version