Mashup.in.th

6 ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อโลกค้าปลีก สิ่งที่ผู้ค้าปลีกควรปรับตัว…ก่อนจะสายเกินไป


(บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน)

ในอดีต ผู้บริโภคส่วนใหญ่ เลือกที่จะออกไปช้อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้ามากกว่า (ออฟไลน์)
ซึ่ง นับเป็นการท่องเที่ยวและพักผ่อนอย่างหนึ่งของผู้บริโภค

จนมาถึงปัจจุบัน การช้อปปิ้งผ่านทางระบบออนไลน์ทำให้ผู้บริโภค สามารถซื้อหาสินค้าได้ไม่ต่างกับการซื้อแบบออฟไลน์เลย ดังนั้น ถ้าผู้บริโภค ทำการซื้ออนไลน์แล้ว เค้าก็คงจะไม่ซื้อสินค้า ชิ้นนั้นซำ้ให้ร้านออฟไลน์ วันนี้เราจะลองมาวิเคราะห์สถานการณ์ของผู้ค้าปลีกกันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้าง

เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกการค้าปลีก

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การซื้อขายปลีกระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เปลี่ยนไปโดยสินเชิง แต่จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างนั้น ลองมาดูกันครับ

1.สถานที่จำหน่ายสินค้าไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

จากเดิมที่เราจะต้องไปถึง “แหล่ง” ของสินค้านั้นเช่น ถ้าจะซื้อคอมพิวเตอร์ ต้องไปพันทิพย์ ถ้าจะซื้อผ้า ต้องไป พาหุรัด เป็นต้น
ปัจจุบัน ผู้บริโภค สามารถซื้อสินค้าที่ตัวเองต้องการได้จากที่ใดก็ได้จังหวัดอื่น ประเทศอื่น หรือทวีปใดๆก็ได้ ในประเทศไทย เราสามารถสั่งซื้อสินค้าจาก จีน อเมริกา หรือที่ใดๆในโลก คนไทย หันมาซื้อสินค้าจาก Aliexpress มากขึ้นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เราสามารถสั่งซื้อมือถือ Lenovo ผ่านทาง Aliexpess ได้ในราคาที่ถูกกว่าไทย หากเครื่องมีปัญหา เราก็สามารถส่งกลับไปที่จีนเพื่อเคลมได้

2.สงครามราคาทวีความรุนแรง

เมื่อมีผู้ขายออนไลน์แข่งขันหลายรายแต่ละรายก็พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้สินค้าของตัวเองราคาถูกกว่าคู่แข่งนับเป็นผลดีต่อผู้บริโภค
ผู้ผลิตสามารถกระโดดลงมาในตลาดค้าปลีกได้ด้วยตัวเอง ผู้ผลิตสินค้าหลายๆราย หันมาขายปลีกเองทั้งผ่านทาง Platform ต่างๆเช่น Lazada, shopat7 และอื่นๆ หรือ ขายผ่านทางหน้าเว็บไซด์ตัวเองมากขึ้น โดยไม่ต้องผ่าน ดีลเลอร์แบบสมัยก่อนทำให้ผู้ผลิตได้รับส่วนกำไรหรือ Margin มากขึ้น ที่สำคัญ สามารถออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการได้ดีกว่าก่อน

3.ค่าขนส่งระหว่างประเทศที่ถูกลง

แต่กลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งได้รวดเร็วมากขึ้น (อันนี้ไม่นับไปรษณีย์ไทยนะ)

4.การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่น่าพอใจ

นอกจากการแข่งขันเรื่องราคาแล้ว ผู้ค้าก็หันมาแข่งขันเรื่องบริการมากขึ้นด้วย เช่น สามารถคืนสินค้าได้ภายใน 14 วัน หรือ ถ้าสั่งจากต่างประเทศ​หากเราไม่ได้รับสินค้า ก็จะได้เงินคืน สิ่งเหล่านี้ เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ซื้อมากขึ้น  ผู้เขียนเองเป็นผู้ซื้อที่ยอมจ่ายแพงขึ้นอีกนิด เพื่อแลกกับบริการและการรับประกันที่คุ้มค่ากว่าเดิม

5.Mobile Shopping ทำให้เราช้อปปิ้งได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างแท้จริง

ในยุคแรกๆของ E-commerce นั้นจุดเด่นที่เหล่าผู้ค้าออนไลน์ได้ยกขึ้นมาคือ การเปิดให้บริการ 24/7 หรือ 24 ชั่วต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ แต่ความเป็นจริงในฝั่งผู้บริโภค ยังไม่ 24/7 อย่างแท้จริง เนื่องจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในยุคนั้นค่อนข้างยาก (เราพูดถึงยุค Modem Dial-up) ซึ่ง เอาจริงๆ ผู้ใช้อย่างเราไม่ได้ออนไลน์ตลอดเวลา

จนมาถึงปัจจุบันนี้เอง ที่เราสามารถช้อปปิ้งผ่าน มือถือ ได้ 24/7 อย่างแท้จริงเพราะอุปกรณ์มือถือมันติดตามเราไปทุกที่ ด้วยการแตะไม่กี่ครั้ง เราก็สามารถสั่งซื้อสินค้าได้แล้ว ระบบจ่ายเงินที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เราชำระเงินได้รวดเร็วขึ้นด้วย

6.สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เราอยากจับจ่าย

เรื่องนี้ เรียกได้ว่าสามารถเขียนเป็นอีกบทความได้เลย การที่เราเห็นคนอื่นใช้สินค้า หรือบริการต่างๆ เราปฏิเสธไม่ได้เลยที่จะทำให้เราอยากใช้สินค้าและบริการนั้นด้วย หรือแม้กระทั่งการโฆษณา ในสื่อต่างๆ การใช้งาน Fanpage และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ ทำให้มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอย่างแน่นอน

ผู้ขายปลีกที่มีแต่หน้าร้านออฟไลน์เอง ก็ควรปรับตัว เข้าสู่โลกออนไลน์ได้แล้ว

 

Exit mobile version