Mashup.in.th

เพิ่มความเร็วใน PC ของคุณด้วย Solid-state Drive!

อับเกรดไปใช้ไดร์ฟแบบ Solid-State

Solid-State Drive หรือ SSDs นับว่าเป็นหน่วยความจำในยุคหน้า เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์รุ่นเดิมนั้นมันสามารถป้องกันแรงกระแทกได้ดีกว่า ใช้ไฟน้อยกว่า และ ทำงานได้เร็วกว่าในทุกๆงาน ข้อเสียอย่างเดียวก็คือ ราคาแพง!!  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ find.pcworld.com/71834

ผู้เขียนจะพูดถึงวิธีการเพิ่ม SSD ให้กับพีซีของคุณ โดยแน่นอนเราจะใช้แล็บท็อบนะครับ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนในเดสก์ท็อปก็ใช้วิธีการนี้ได้เหมือนกัน แถมยังง่ายกว่าด้วย โดยก่อนที่คุณจะตัดสินใจอับเกรดก็ขอให้ลองคิดตามเงื่อนไขเหล่านี้ครับ

พีซีของคุณใช้ Windows XP ใช่ไหม? ถ้าใช่ คุณก็ไม่ควรจะทำการอับเกรดไปใช้ SSD ถึงแม้ว่ามันจะมีไดรเวอร์สำหรับ Windows XP แล้วก็เถอะ ตัว Windows XP เองไม่สนับสนุนการทำงานกับ SSD เท่ากับ Windows 7 หรือ Windows Vista เลย

BIOS ของคุณสนับสนุนการทำงานของ SSD หรือไม่? BIOS ในแล็ปท็อบบางชนิด ไม่สามารถทำงานได้กับ SSD ลองทำการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บก่อน โดยใช้ หมายเลข Model ในพีซีของคุณ แล้วตามด้วย SSD Compatible ดูว่ามีใครพูดถึงบ้างหรือไม่

แล็ปท็อบของคุณสามารถอับเกรดชิ้นส่วนต่างๆได้หรือไม่? แล็ปท็อบเก่าๆบางรุ่นนั้นไม่สามารถทำการอับเกรดชิ้นส่วนต่างๆได้ง่ายนัก รวมถึงฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวอย่างเช่น MacBook และ MacBook Pro ที่สำคัญดูด้วยครับว่าการอับเกรดจะทำให้หมดประกันหรือไม่

คุณต้องการลง Windows ใหม่หรือเปล่า? เมื่อคุณเปลี่ยนเป็น SSD คุณจำเป็นจะต้องลง Windows ใหม่อีกครั้งในฮาร์ดดิสก์ใหม่นั้น หรือไม่คุณก็สามารถทำการโคลนฮาร์ดดิสก์เก่ากลับมาได้ทั้งฮาร์ดดิสก์

ถ้าคุณเลือกที่จะลง Windows ใหม่ทั้งหมด ขั้นตอนคือให้คุณทำการสำรองข้อมูลเก่าเอาไว้จากนั้นให้ลง Windows บนไดร์ฟ SSD ใหม่ของคุณแล้วคัดลอกข้อมูลที่คุณสำรองไว้ไปยังฮาร์ดดิสก์ใหม่ คุณอาจจะใช้เครื่องมือในการช่วยย้ายเช่น Windows Easy Transfer(find.pcworld.com/64076) หรือ Laplink PCmover (find.pcworld.com/71835) ขอเพียงคุณตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้ลงไดร์เวอร์ถูกต้องแล้วซึ่ง Windows 7 เองก็ได้มีไดร์เวอร์เอาไว้สำหรับฮาร์ดแวร์เก่าๆด้วย หากคุณหาไม่พบก็เข้าไปที่เว็บของผู้ผลิตก็จะมีให้ดาวโหลดครับ

ถ้าหากคุณอยากจะโคลนทั้งไดร์ฟเก่าของคุณโดยไม่ต้องลง Windows ใหม่ สามารถอ่านวิธีการได้ที่ find.pcworld.com/71836

 สลับเปลี่ยนตัวไดร์ฟจาก HDD ไปเป็น SSD

หากคุณหาข้อสรุปให้กับตัวเองจากคำถามต่างๆด้านบนได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนตัวฮาร์ดดไดร์ฟจริงๆกันเสียที สำหรับแล็บท็อบแต่ละยี่ห้อนั้นจะมีวิธีการใช้เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ไม่เหมือนกัน ความยากง่ายจึงแตกต่างกันไปด้วย โดยเราทดสอบการเปลี่ยนบนแล็ปท็อบยี่ห้อ Acer เราสามารถขันสกรูออกมาได้อย่างง่ายๆ

จากการทดสอบของเราไม่มีสกรูยึดระหว่างตัวฮาร์ดไดร์ฟกับเครื่อง ตัวกรอบใส่ฮาร์ดดิสก์นั้นก็ค่อนข้างบอบบางต้องเบามือเวลาเอาออกมา

สำหรับแล็ปท็อบของคุณต้องดูดีๆนะครับว่าตัวฮาร์ดดิสก์ถูกยึดเอาไว้กับตัวเครื่องหรือไม่ อย่าง DELL จะมีตัวยึดฮาร์ดดิสก์เอาไว้กับตัวเครื่อง เพียงแค่เราดึงออกมาตรงๆก็จะหลุดออกมาแล้ว ซึ่งหากคุณเห็นตัว Connectore หรือสายไฟต่างๆเชื่อมต่อ ฮาร์ดดิสก์เข้ากับตัวเครื่องก็ขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษครับ เพราะหากสายไฟขาดสักเส้น หรือ หัวเข็ม Connector หัก คุณก็อาจจะต้องเสียเงินในการซ่อมแพงเอาการ

แล็ปท็อบที่เราใช้นั้นมีการใช้รางในการยึดไดร์ฟอีกครั้ง ก่อนจะเอาไปยึดเข้าเครื่อง ดังนั้นเวลาเอาออกมาต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษนะครับ เพราะมันอาจจะออกมาผิดด้านได้ และขณะที่ใส่กลับเข้าไปต้องคอยดูว่าหัว Connector นั้นหันด้านถูกหรือไม่

หลังจากติดตั้ง SSD ใหม่แล้วก็ให้ลองเปิดแล็ปท็อบใหม่ของคุณขึ้นมา ส่วนการวัดผลว่ามันทำงานได้ดีขึ้นหรือไม่นั้นไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Benchmark ใดๆเลย เราแค่ทำการวัดเวลาที่ใช้ในการ Boot เครื่อง สำหรับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปนั้นใช้เวลา 54.9 วินาทีในการ Boot และใช้เวลาในการ Shutdown เพียง 17.94 วินาที แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ SSD แล้วใช้เวลาในการ Boot ลดลงเหลือ 38.71 วินาที และใช้เวลาในการ Start Up เพียง 13 วินาที

Exit mobile version